หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

กรณีศึกษาปัญหาทรัพยากรดิน

กรณีศึกษาปัญหาทรัพยากรดิน

รายงานสถานการณ์ดินถล่ม ที่จังหวัดกระบี่

มติคณะรัฐมนตรี -- พุธที่ 20 ตุลาคม 2547 14:25:59 น.
คณะรัฐมนตรี รับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
กระทรวงมหาดไทย   รายงานสรุปสถานการณ์ดินถล่มที่บ้านอ่าวนาง ต.อ่าวนาง และบ้านห้วยส้มไฟ ต.เขาคราม อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ การให้ความช่วยเหลือและมาตรการเร่งด่วนที่ได้ดำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 16 และ 18 ตุลาคม 2547
1. เหตุการณ์ดินถล่มเกิดขึ้น 2 จุด
1.1 จุดแรก พื้นที่เกิดเหตุบ้านอ่าวนาง ม. 2 ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เวลา 23.00 น. ของวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม 2547 เกิดดินถล่มเนื่องจากฝนตกหนัก  พื้นที่เกิดเหตุเป็นที่พักอาศัยรับนักท่องเที่ยวอยู่ริมทะเลและใกล้ภูเขา ไม่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ บ้านเรือนเสียหายบางส่วน จำนวน 6 หลัง ก่อนเกิดเหตุจังหวัดกระบี่ได้ประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยและสำนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ชี้แจงให้ประชรชนได้ทราบ จึงมีการอพยพออกจากที่พักอาศัยก่อนเกิด
1.2 จุดที่สอง  พื้นที่เกิดเหตุบ้านห้วยส้มไฟ ม.1 ตำบลเขาคราม อำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เกิดดินถล่มเมื่อเวลาประมาณ 00.30 น. ของวันที่ 18 ตุลาคม 2547 พื้นที่เกิดเหตุเป็นหุบเขาเป็นสวนผลไม้ สวนยาง และสวนปาล์ม ห่างจากจังหวัดประมาณ 20 กิโลเมตร ดินถล่มบ้านที่อยู่อาศัยที่ตั้งอยู่เชิงเขา เสียหายประมาณ 12 หลัง โดยเสียหายทั้งหลัง 3 หลัง เสียหายบางส่วน 9 หลัง และมีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 1 คน เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ปกครองจังหวัดกระบี่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ ตำรวจ อาสาสมัคร ได้เข้าไปร่วมกับ อบต.เขาคราม อพยพราษฎรไปพักอาศัยในมัสยิดบ้านทุ่งซึ่งอยู่ห่างประมาณ 5 กิโลเมตร
2. ความเสียหาย
2.1 ราษฎรเสียชีวิต รวม 3 คน (ราษฎรทั้ง 3 คน เป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน) ได้แก่ 1) นายนพดล  อ้นบุตร  อายุ 33 ปี  2) นางปาริมา  สาระวารี อายุ 32 ปี  3) ด.ญ. วาทิตา  อ้นบุตร  อายุ 9 ปี
2.2 ราษฎรบาดเจ็บ 1 คน ขณะนี้รักษาตัวที่โรงพยาบาลกระบี่ ได้แก่ ด.ช.พลวัตร  อ้นบุตร อายุ 13 ปี
2.3 บ้านเรือนราษฎรเสียหาย รวม 18 หลัง แยกเป็น 1) เสียหายทั้งหลัง 3 หลัง 2) เสียหายบางส่วน 15 หลัง
3. การให้ความช่วยเหลือของจังหวัดและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3.1 การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
จังหวัดกระบี่  โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่และอำเภอเมืองกระบี่   ได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านอุปโภคบริโภค เครื่องนุ่งห่ม และเยี่ยมเยียนปลอบขวัญให้กำลังใจผู้ประสบภัย พร้อมทั้งสำรวจความเสียหายเพิ่มเติม
3.2 การให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานกับจังหวัดกระบี่โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด กระบี่ ร่วมกับอำเภอเมืองกระบี่เพื่อให้การช่วยเหลือเพิ่มเติมโดยมีหลักเกณฑ์การ ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 ดังนี้
1) ด้านผู้ประสบภัย
- กรณีบาดเจ็บสาหัส รักษาในสถานพยาบาลตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ช่วยเหลือเบื้องต้นคนละ 3,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ช่วยเหลือค่าทำศพ ๆ ละไม่เกิน 15,000 บาท
- กรณีเสียชีวิตและเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัวให้ พิจารณาสงเคราะห์ครอบครัวอีกไม่เกิด 25,000 บาท
2) ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย
- ที่อยู่อาศัยเสียหายบางส่วน ช่วยเหลือตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหลังละ 20,000 บาท
- ที่อยู่อาศัยเสียหายทั้งหลัง ช่วยเหลือตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินหลังละ 30,000 บาท
3) ซ่อมแซมด้านยุ้งข้าว โรงเรือนเก็บพืชและคอกสัตว์
- เสียหายบางส่วน ช่วยเหลือตามที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,000 บาท
- เสียหายทั้งหลัง ช่วยเหลือตามที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 8,000 บาท
4) เครื่องมือประกอบอาชีพ
- ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพหรือเงินทุนประกอบอาชีพเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครอบ ครัวละ 10,000 บาท
5) ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร ครอบครัวละไม่เกิน 3,500 บาท
โดยจังหวัดกระบี่แจ้งว่าจะจ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยและครอบครัว ผู้เสียชีวิตให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 19 ตุลาคม 2547
4. มาตรการป้องกันภัยพิบัติระยะเร่งด่วน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานไปยังจังหวัดกระบี่ได้ดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วน ดังนี้
4.1 พื้นที่ภูเขาดินถล่มจุดที่ 2 เป็นภูเขาไฟห้วยส้มไฟ ต.เขาคราม ลักษณะเป็นหน้าผาหินปูน สภาพปัจจุบัน ยังมีหน้าผาอีกส่วนหนึ่งซึ่งอาจจะพังถล่มลงมาได้อีก จังหวัดกระบี่ได้ประกาศเป็นพื้นที่เสียงภัยและแจ้งให้ประชาชนออกจากบริเวณ ดังกล่าว พร้อมกับประสานไปยังสำนักงานทรัพยากรธรณีเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ไปตรวจสอบทางด้านธรณีวิทยาเพื่อประเมินความเสี่ยงและเตรียมการป้องกัน
4.2 พื้นที่เสียงภัยอื่น ๆ ให้จังหวัดจัดชุดเฝ้าระวัง โดยมอบให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับ อปพร. สำรวจสภาพพื้นที่ที่อาจจะเกิดการเลื่อนไหลของดินและถล่มลง หากพบว่าพื้นที่ใดมีแนวโน้มว่าอาจจะเกิดขึ้นอีก ให้รีบดำเนินการอพยพราษฎร พร้อมกับรายงานให้อำเภอและจังหวัดทราบโดยด่วน
4.3 ให้จังหวัดประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นให้ราษฎรใน พื้นที่ได้ทราบและมีความตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ มิให้เกิดความตื่นตระหนกจนเกิดความเสียหายต่อการประกอบอาชีพหรือกระทบต่อการ ท่องเที่ยวของจังหวัด
กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับรายงานจากกรมทรัพยากรธรณีเรื่องการเกิดเหตุหินถล่มจากเขาสูงมาทับบ้าน เรือนประชาชนในพื้นที่ตำบลเขาคราม อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ มีผู้เสียชีวิต 3 คน บาดเจ็บ 1 คน และเหตุการณ์ดินไหลทำความเสียหายบางส่วนแก่เกสเฮาส์ในพื้นที่ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ของกรมทรัพยากรธรณี ที่เข้าไปตรวจสอบในพื้นที่ได้สรุปรายงานการดำเนินการในเบื้องต้น กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดย กรมทรัพยากรธรณี ได้ดำเนินการดังนี้
1. ประสานกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและองค์การบริหารส่วนตำบลใน พื้นที่ เพื่อธิบายให้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดหินถล่มและดินไหล พร้อมแนะนำวิธีการป้องกันเหตุการณ์ในอนาคต
2. ประสานกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด เพื่อนำเสนอข้อมูลรายงานต่อผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ ในการกำหนดมาตรการ การปลูกสร้างสิ่งก่อสร้าง ไม่ให้อยู่ใกล้หน้าผาหรือภูเขามากเกินไป
3. เร่งดำเนินการศึกษาเพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยที่เกิดจากหินถล่ม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่หนา แน่น เพื่อออกประกาศแจ้งเตือนภัยต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น